Tuesday, November 27, 2007

หมากฝรั่ง



หมากฝรั่งเป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่ง โดยจะเอาไปผสมกับน้ำตาลและรสต่าง ๆ ยางก็เป็นพอลิเมอร์ชนิดหนึ่ง ซึ่งจะมีอุณหภูมิที่เปลี่ยนสถานะจากของแข็งอสัณฐานเป็นของเหลว เรียก glass transition temperature (Tg) Tg ของหมากฝรั่งมีค่าไม่ต่างมากจากอุณหภูมิร่างกาย ดังนั้นเมื่อเราเอาหมากฝรั่งเข้าปาก มันก็จะเริ่มอ่อนตัว



หมากฝรั่งดีสำหรับคุณ ดังนี้

1.ลดอาการเสียดท้อง การเคี้ยวหมากฝรั่งหลังจากรับประทานอาหารเสร็จ จะช่วยลดกรดไหลย้อนกลับได้

2.สุขภาพฟันสดใส จะต้องเป็นแบบซูการ์ฟรีเท่านั้น เคี้ยวเป็นประจำจะช่วยลดอาการฟันผุได้ เพราะหมากฝรั่งจะช่วยลดกรดในช่องปาก และความเหนียวของหมากฝรั่ง ก็จะช่วยทำให้ฟันสะอาดดีด้วย เพราะจะช่วยเข้าไปทำให้อาหารหลุดออกมาได้

3.ให้ความเพลิดเพลิน เพราะเมื่อเคี้ยวแล้วมีรสหวาน ซึ่งคนส่วนใหญ่ชอบแถมเคี้ยวไปได้ นานๆ ไม่แข็ง

4.หมากฝรั่งเป็นแหล่งให้พลังงานได้ ในยามฉุกเฉินที่ขาดนํ้าตาล ไปบำรุงสมอง เพราะใน หมากฝรั่งมีนํ้าตาลมากถึงประมาณ 90 % ทีเดียวของสารปรุงรส

5.ผลในแง่สังคมและจิตวิทยา คือ ทำให้รู้สึกเหมือนเป็นคนเข้ากับสมัย แสดงความเป็นตัว ของตัวเอง ในบางคนที่วิตกกังวล การเคี้ยวหมากฝรั่งก็เป็นเครื่องช่วยคลายความวิตก ความเครียด ความประหม่าในบางคนก่อนจะไปพบแฟน

ข้อเสีย

1.เนื่องจากเคี้ยวหมากฝรั่ง ทำให้เกิดการเพลิดเพลิน แต่ถ้าหากเคี้ยวมากไป จนเกินเพลิน แล้วละก็ อาจจะเป็นปัญหาต่อส่วนข้อต่อขากรรไกรได้ (ส่วนที่พวกหมอฟันเรียกกันเป็น TMJ) นั่นคืออาจเกิดการล้าของกล้ามเนื้อ และปวดขากรรไกรได้ ผู้ที่ชอบเคี้ยวหมากฝรั่งเป็นอาจิณ ควรระวังไว้

2.หมากฝรั่งเป็นแหล่งให้พลังงานที่นับได้ว่าเป็น "ส่วนเกิน" สำหรับเราๆ ท่านๆ ที่รับประทาน อาหารถูกส่วนและครบมื้อ เพราะนํ้าตาล 1 ช้อนชา ให้พลังงานถึง 16 แคลอรี่ทีเดียว ผู้ที่จะลดความ อ้วน หรือควบคุมอาหารและนํ้าตาล ก็ควรระมัดระวังพลังงาน "ส่วนเกิน" พวกนี้ไว้ด้วย แต่ถ้าเป็นหมากฝรั่งชนิดที่ " Sugar Free" หรือปราศจากนํ้าตาล (จากธรรมชาติ) แล้วละก็สารที่ ให้ความหวาน จะเป็นสารให้พลังงานตํ่า ก็สามารถจะเคี้ยวได้ตามใจชอบ


3.ผลในแง่สังคมและจิตวิทยา ในแง่สังคมควรเลือกกาลเทศะในการเคี้ยวด้วย เพราะแม้จะ ทันสมัย แต่ถ้าเคี้ยวในเวลาที่ไม่เหมาะสม เช่น ระหว่างมีการประชุม หรือการนั่งเรียนหนังสือ ก็จะดูเป็นการน่าเกลียด เอามากๆ ในสังคมไทย เพราะดูไม่เป็นการเคารพต่อประธาน หรืออาจารย์ ซะเลย แทนที่จะแก้ความวิตกกังวลได้กลับจะเป็นการสร้างความวิตกกังวล หรือความเครียดเพิ่ม ขึ้นกับผู้เคี้ยวไปซะอีก

4.เข้าสู่ประเด็นเรื่องทันตสุขภาพ เนื่องจากว่าองค์ประกอบหลักคือ นํ้าตาลซึ่งมีในชื่อต่างๆกันเช่น นํ้าตาล, กลูโกส, โวรับ, ฟรุกโตส, แลคโตส, นํ้าผึ้ง เป็นต้น ทั้งหมดก็คือ นํ้าตาลจากธรรมชาติแท้ๆ ซึ่งมีผลทำให้เกิดฟันผุได้ ทั้งนั้น และการเคี้ยวหมากฝรั่งดูจะเป็นการทำให้ นํ้าตาลเข้าไปสัมผัส ผิวฟันได้มากขึ้นด้วยซํ้าไป นํ้าลายที่ออกมาอาจจะช่วยเจือจางไม่ทันซะด้วยซํ้า แถมเมื่อหยุดเคี้ยว มีนํ้าตาลค้างกลายเป็นแหล่งอาหารชั้นดีของเชื้อโรคฟันผุไป





บริษัทที่ผลิตหมากฝรั่งก็แก้เกมด้วยการใช้สารสังเคราะห์ ที่ให้ความหวานแทนนํ้าตาล เช่น แอสปาร์แตม ไชลิทอล หรือชอร์บิทอลแทน ซึ่งเป็นนํ้าตาลสังเคราะห์ใช้กันมากในกลุ่มประเทศ ทางสแกนดิเนเวีย จะระบุไว้เลยข้างกล่องว่า "ปลอดภัยสำหรับฟันของคุณ" (เมื่อเคี้ยวหมากฝรั่ง ยี่ห้อนี้) ซึ่งหมากฝรั่งพวกนี้ก็มีขายในบ้านเรา แต่ราคาอาจจะสูงกว่าเล็กน้อย รสชาดจะหวานน้อยกว่า และหมดรสหวานเร็วกว่า แต่ก็ต้องระมัดระวังเพราะหากเคี้ยวมากๆ ก็อาจเกิดอาการข้างเคียงคือ คลื่นไส้ อาเจียนได้


นอกจากนี้ยังมีคนพยายามจะให้หมากฝรั่ง นอกจากจะปลอดภัยสำหรับฟันแล้วช่วยป้องกันฟัน ผุโดยใส่ฟลูออไรด์ลงไปด้วย ซึ่งยังไม่แพร่หลายเนื่องจากควบคุมปริมาณการได้รับฟลูออไรด์ได้ยาก ขึ้นกับปริมาณการบริโภค หากเคี้ยวมากไปก็จะได้รับฟลูออไรด์ในปริมาณที่มากเกินก็จะมีอาการ ข้างเคียงได้เช่นกัน
ประเด็นสุดท้ายก็คือเป็นการสิ้นเปลืองเงินโดยใช่เหตุ ในการบริโภคหมากฝรั่ง




ทั้งหมดก็เป็นการประมวลให้ทราบถึงผลดีผลเสียแง่มุมต่างๆ ของหมากฝรั่ง ซึ่งก็จะยังคงมีการศึกษาใหม่ๆ ออกมาอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้เคี้ยวหมากฝรั่งเป็นประจำ หรือไม่ก็ตาม การเคี้ยวหมากฝรั่งเป็นเรื่องปัจเจกบุคคล แต่ควรคำนึงไว้เสมอว่า เลือกกาลเทศะ ในการเคี้ยว และขณะเดียวกันต้องไม่สร้างปัญหาในการจัดเก็บกากหมากฝรั่งด้วยก็แล้วกัน จะได้ชื่อว่าเป็นผู้เจริญและทันสมัยจริง